UPDATE: “มันเป็นสิ่งที่โง่เง่ามาก” อีลอน มัสก์ เผยมุมมองการใช้ไฮโดรเจนในฐานะพลังงานสะอาดยุคใหม่

541 Views  | 

UPDATE: “มันเป็นสิ่งที่โง่เง่ามาก” อีลอน มัสก์ เผยมุมมองการใช้ไฮโดรเจนในฐานะพลังงานสะอาดยุคใหม่

อีลอน มัสก์ ซีอีโอของ Tesla ตอกย้ำความคิดของเขาต่อบทบาทของไฮโดรเจนในการเปลี่ยนแปลงแผนการไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยจำกัดความว่า “มันเป็นสิ่งที่โง่ที่สุดที่ผมจะจินตนาการได้เลย”
.
แม้ไฮโดรเจนเหลวจะทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงของจรวด ทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์และที่กักเก็บพลังงานเพื่อใช้ตามฤดูกาลก็ตาม
.
ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่งาน Financial Times Future of the Car มัสก์ถูกถามว่า ไฮโดรเจนมีบทบาทในการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือไม่
.
“ไม่ ผมให้น้ำหนักเรื่องนี้ได้ไม่มากพอ บางทีจำนวนครั้งที่ผมถูกถามเกี่ยวกับไฮโดรเจนอาจจะมากกว่า 100 หรือ 200 ครั้ง” มัสก์ตอบ พร้อมเสริมว่า สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจก่อนว่าหากต้องการวิธีกักเก็บพลังงาน ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกที่ไม่ดีเลย
.
และเขาเสริมข้อโต้แย้งของเขาว่า ถังขนาดยักษ์เป็นสิ่งจำเป็นในการกักเก็บไฮโดรเจน เพื่อคงไว้ในรูปของเหลว หากต้องการเก็บไว้ในสภาพก๊าซจะต้องมีถังที่ใหญ่กว่าเดิม
.
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) อธิบายว่า เป็นตัวเก็บพลังงานอเนกประสงค์ โดยไฮโดรเจนนั้นมีการใช้งานที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมและการขนส่ง
.
ในปี 2019 IEA กล่าวว่า ไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดในการจัดเก็บพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน และดูเหมือนว่าจะเป็นตัวเลือกที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในการเก็บไฟฟ้าเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน
.
ทั้งนี้ มัสก์มีประวัติในการแสดงความคิดเห็นอย่างหนักแน่นกับทั้งเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและไฮโดรเจน
.
โดยไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ เมื่อประเด็นดังกล่าวผุดขึ้นระหว่างการตอบคำถามจากนักข่าวที่งาน Automotive News World Congress มหาเศรษฐีรถยนต์ไฟฟ้าจำกัดความเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนว่า ‘เหลวไหลมาก’
.
และในเดือนมิถุนายน ปี 2020 เขาทวีตว่า ‘เซลล์เชื้อเพลิง = ขายคนบ้า’ โดยได้เสริมในเดือนกรกฎาคมของปีนั้นว่า ‘การขายไฮโดรเจนมันบ้าจนไม่สมเหตุสมผล’
.
เมื่อพิจารณาความเห็นของเขาในสัปดาห์นี้ เขายังคงไม่มั่นใจกับไฮโดรเจนเท่าใดนัก
.
“มันไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คุณจึงต้องแยกน้ำด้วยอิเล็กโทรลิซิส หรือแยกไฮโดรคาร์บอนออกมาให้แตกเป็นเสี่ยงๆ และเมื่อคุณแยกไฮโดรคาร์บอนออกมา คุณก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่วนประสิทธิภาพของอิเล็กโทรลิซิสนั้นก็แย่มาก
.
ปัจจุบันการผลิตไฮโดรเจนส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือการใช้อิเล็กโทรลิซิสที่ใช้กระแสไฟฟ้าแยกน้ำออกเป็นออกซิเจนและไฮโดรเจน
.
หากไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ลมกับแสงอาทิตย์ บางที่จะเรียกมันว่าไฮโดรเจนสีเขียวหรือพลังงานหมุนเวียน
.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โครงการไฮโดรเจนที่ใช้กระแสไฟฟ้าได้ดึงดูดความสนใจจากบริษัทใหญ่ๆ และผู้นำธุรกิจ แต่ดูเหมือนว่ามัสก์จะไม่ชอบสิ่งนี้เอาเสียเลย
.
“ประสิทธิภาพของอิเล็กโทรลิซิสนั้นแย่ คุณกำลังใช้พลังงานอย่างมากเพื่อฉีกไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกจากกัน และคุณยังต้องแยกไฮโดรเจนกับออกซิเจนออกแล้วเพิ่มแรงดันอีก ซึ่งใช้พลังงานมากเช่นกัน
.
“และหากคุณต้องทำให้เป็นของเหลว… พระเจ้า นี่มันไฮโดรเจน ปริมาณพลังงานที่ต้องใช้เพื่อทำไฮโดรเจนและเปลี่ยนมันเป็นของเหลวนั้นน่าทึ่งมาก มันเป็นสิ่งที่โง่เขลาที่สุดที่ผมจะจินตนาการได้เกี่ยวกับการกักเก็บพลังงานเลย” เขากล่าวกับ Financial Times
.
แม้มัสก์อาจเพิกเฉยต่อบทบาทของไฮโดรเจน แต่ผู้มีอิทธิพลคนอื่นๆ นั้นมองในแง่ดีมากกว่ามัสก์เล็กน้อย ซึ่งรวมถึง แอนนา สฟิตซ์เบิร์ก รองผู้ช่วยเลขาธิการด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่สหรัฐอเมริกา
.
โดยสฟิตซ์เบิร์กเรียกไฮโดรเจนว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนเกมที่ตอบโจทย์กับทุกแหล่งพลังงาน ส่วนหนึ่งเพราะมันสามารถสร้างนิวเคลียร์ได้ สร้างพลังงานหมุนเวียนได้ และสามารถจัดเก็บได้
.
และในเดือนกุมภาพันธ์ มิเชล เดลลา วิกนา ผู้นำหน่วยธุรกิจโภคภัณฑ์ของ Goldman Sachs กล่าวว่า หากเราต้องการก้าวสู่ Net Zero พลังงานหมุนเวียนอาจไม่ใช่คำตอบ
.
กุญแจสำคัญคือ ‘ผลิตโดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์’ และนั่นคือเหตุผลที่เราต้องพูดถึงไฮโดรเจนสีน้ำเงิน ณ ที่นี้หมายถึงไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นผ่านก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ
.
ทั้งนี้ ยังมีการถกเถียงมากมายเกี่ยวกับบทบาทของไฮโดรเจนสีน้ำเงินในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากสังคม
.
#TheStandardWealth

————————————————

 ชมย้อนหลัง! #TheStandardDebate ดีเบตผู้ว่าฯ กทม. THE CANDIDATE BATTLE พลิกโฉมดีเบต ศึกดวลความคิด พิชิตโหวต
https://www.youtube.com/watch?v=dbbJSrBnqkc 
.

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy